เมนู

จูฬยมกวรรค



1. สาเลยยกสูตร



[483] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อม
กับหมู่ภิกษุจำนวนมาก มาประทับอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์แห่งแคว้นโกศลชื่อ
สาละ พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละได้ฟังข่าวว่า นี่แน่ เขาว่าพระ
สมณโคดมผู้เจริญ โอรสเจ้าศากยะบวชจากตระกูลศากยะกำลังท่องเที่ยวอยู่ใน
แคว้นโกศล ได้มาถึงหมู่บ้านสาละพร้อมกับหมู่ภิกษุจำนวนมาก ก็แลเกียรติ-
ศัพท์อันงามได้ขจรขึ้นไปยังพระโคดมผู้เจริญนั้นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุ
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ถูกต้องด้วย
พระองค์เอง สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ไปดีแล้ว รู้จักโลก
เป็นผู้ฝึกคนที่พอจะฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้สอนพวกเทวดาและมนุษย์
เป็นพุทธะ เป็นผู้จำแนกธรรม พระโคดมนั้นได้กระทำให้แจ้งโลกนี้รวมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่คนรวมทั้งสมณะและพราหมณ์รวมทั้ง
เทวดาและมนุษย์ด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วชี้แจง. ท่านแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งใจความ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. ก็แหละการเห็นหมู่พระอรหันต์
เห็นปานนั้นย่อมเป็นการดีแท้.
ครั้นนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละ ก็พากันเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วบางพวกก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็บันเทิงกับพระผู้มีพระภาค
เจ้า เมื่อพูดจาปราศรัยกันพอเป็นที่ระลึกนึกถึงกันเสร็จแล้ว ก็นั่งลงในที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็ประณมอัญชลีหันไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
นั่งลงในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็บอกชื่อและนามสกุลในสำนักพระผู้
มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งลงในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกไม่พูดว่าอะไรแล้วนั่ง
ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาว
สาละก็ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า "ท่านโคดมผู้เจริญ...ขอถามสัก
หน่อยเถิดว่า อะไรล่ะ เป็นเหตุ? อะไรเป็นปัจจัย ซึ่งเหล่าสัตว์บางพวกใน
โลกนี้ หลังจากตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ? พระโคดมผู้เจริญ และก็อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เหล่า
สัตว์บางพวกหลังจากตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ?
ภ. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความไม่ประพฤติธรรม
และความประพฤติไม่สม่ำเสมอ เป็นเหตุโดยแท้ เหล่าสัตว์บางพวกในโลก
นี้ หลังจากตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อย่างนี้ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติธรรมและความ
ประพฤติเรียบร้อยเป็นเหตุโดยแท้ที่ทำให้หมู่สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ หลังจากตายเพราะกายแตกอย่างนี้.
พ. "พวกข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจ ใจความของคำพูดที่ท่านพระ
โคดมกล่าวโดยย่อนี้อย่างพิสดารได้ และคำพูดที่ท่านยังไม่แจกแจงก็เข้าใจ
ใจความอย่างพิสดารโดยทั่วถึงยังไม่ได้ พวกข้าพเจ้าขอโอกาสให้พระโคดมผู้
เจริญแสดงธรรมโดยประการที่พวกข้าพเจ้าจะพึงเข้าใจใจความของคำพูดที่
ท่านพระโคดมกล่าวโดยย่อนี้อย่างพิสดารได้ และคำพูดที่ท่านยังไม่แจกแจงก็
เข้าใจใจความอย่างพิสดารโดยทั่วถึงได้."
ภ. "พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี
ฉันจะกล่าว."

พ. "อย่างนั้นท่าน." พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ รับ
สนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[484] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า
"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมและ
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกายมี 3 อย่าง ความประพฤติไม่เป็นธรรม
และความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจามี 4 อย่าง ความประพฤติไม่เป็น
ธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจมี 3 อย่าง."
"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมและ
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย 3 อย่าง อย่างไรเล่า ? คือ
1. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้ชอบฆ่า
สัตว์ เป็นคนหยาบ มือเปื้อนเลือด ตั้งมั่นในการเข่นฆ่า ไม่ละอาย ไม่สงสาร
ในหมู่สัตว์ทั้งปวง.
2. และก็เป็นผู้ชอบลักขโมยของสิ่งใดเป็นของคนอื่น เป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของคนอื่น ไม่ว่าอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า เป็นผู้ถือเอาของที่เขา
ไม่ได้ให้ อันเป็นส่วนแห่งขโมยนั้น.
3. อีกทั้งชอบประพฤติผิดในของรักของใคร่ทั้งหลาย เป็นผู้ละเมิด
จารีตในผู้หญิงที่ไม่รักษา พ่อรักษา ทั้งแม่และพ่อรักษา พี่น้องชายรักษา
พี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีผัว หญิงมีอาชญาโดยรอบ โดยที่
สุดแม้แต่หญิงที่คล้องพวงมาลังให้ (เสี่ยงพวงมาลัย) เห็นปานนี้.
อย่างนี้แลพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติที่ไม่
เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางกาย 3 อย่าง.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แหละ ความประพฤติที่ไม่เป็น
ธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางวาจา 4 อย่าง เป็นอย่างไร?
คือ
1. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นคนชอบ
พูดเท็จไม่ว่าอยู่ในที่ประชุม อยู่ในบริษัท อยู่กลางญาติ อยู่กลางพรรค
พวก หรืออยู่กลางราชตระกูลก็ตาม เมื่อถูกนำมาซักเป็นพยานว่า ''มานี่ซิ
นาย ขอให้คุณจงพูดสิ่งที่คุณรู้." เขาไม่รู้ก็พูดว่า "ผมรู้" หรือรู้อยู่ก็กลับพูด
ว่า " ผมไม่รู้ " ไม่เห็นก็พูดว่า " ผมเห็น " หรือเห็นอยู่ก็ไพล่พูดไปว่า " ผมไม่
เห็น " ทั้งนี้เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือ เพราะเหตุแห่ง
อามิสลางสิ่งลางอย่าง จึงเป็นกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่.
2. และก็เป็นคนพูดส่อเสียด คือ ได้ฟังจากทางนี้แล้วไปบอกทาง
โน้น เพื่อทำลายพวกเหล่านี้ หรือได้ฟังจากทางโน้นแล้วก็มาบอกพวกนี้
เพื่อทำลายพวกโน้น ดังนี้ก็เป็นอันว่า ทำผู้ที่พร้อมเพรียงกันอยู่แล้วให้แตก
กัน หรือส่งเสริมให้คนที่แตกกันอยู่แล้วแตกกันยิ่งขึ้น พอใจผู้ที่แตกกันเป็น
พรรคเป็นพวก ยินดีกับที่แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก ชอบผู้ที่แตกกันเป็น
พรรคเป็นพวก เป็นผู้พูดวาจาที่ทำให้แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก
3. ทั้งเป็นคนพูดคำหยาบ คือ เป็นผู้พูดคำชนิดที่ค่อนขอด หยาบช้า
ต่อคนอื่น เผ็ดร้อน คนอื่นเหน็บความเจ็บใจ ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไม่เพื่อ
ให้จิตใจตั้งมั่นเห็นปานนั้น.
4. อีกทั้งเป็นผู้ชอบพูดสำรากเพ้อเจ้อ ชอบพูดไม่ถูกเวลา ชอบพูด
ไม่จริง ( พูดไม่เป็น) ชอบพูดไร้ประโยชน์ ชอบพูดไม่เป็นธรรม ชอบพูดไม่
เป็นวินัย เป็นผู้พูดไม่มีหลักฐาน ไม่เป็นเวลา ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

อย่างนี้แล พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติที่ไม่
เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางวาจา 4 อย่าง.
" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แหละ ความประพฤติที่ไม่เป็น
ธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางใจ 3 อย่าง เป็นอย่างไร คือ
1. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มาก
ไปด้วยความเพ่งเล็ง เป็นผู้เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของคนอื่น ไฉนหนอ ขอสิ่งที่
เป็นของคนอื่นนั้นพึงเป็นของเราเถิด.
2. และก็เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีใจคิดแต่จะประทุษร้ายว่า " ขอ
ให้สัตว์พวกนี้ จงถูกฆ่า จงถูกเขาฆ่า จงขาดสูญ หรืออย่าได้มีเลย."
3. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้มีความเห็นคลาดเคลื่อนว่า "ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลคือวิบากของ
กรรมที่ทำดีและชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีบุญคุณ บิดาไม่
มีบุญคุณ พวกสัตว์ที่ผุดเกิดไม่มี ในโลกไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี
ปฏิบัติชอบชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศโลกนี้และโลก
หน้า "
อย่างที่ว่ามานี่แหละ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความ
ประพฤติที่ไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางใจ 3
อย่าง.
" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติไม่เป็นธรรม
และความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นเหตุอย่างนี้แล เหล่าสัตว์บางพวกใน
โลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจึงย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก."

[485] " พราหมณ์และคฤหบดีทั่งหลาย ความประพฤติเป็นธรรมและ
ความประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี 3 อย่างแล. ความประพฤติเป็นธรรม
และความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจามี 4 อย่าง. ความประพฤติเป็นธรรม
และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี 3 อย่าง
" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แลความประพฤติเป็นธรรมและ
ความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย 3 อย่าง เป็นอย่างไร คือ
1. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ละการฆ่า
สัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์วางกระบองลง วางศัสตราลง มีความ
ละอายประกอบด้วยความเอ็นดูเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อและความสงสารในสัตว์
ทั้งหมดอยู่.
2. ละการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้ไม่ถือ
เอาทรัพย์สมบัติของคนอื่น จะอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ซึ่งเขาไม่ได้ให้อันเป็น
ส่วนแห่งการขโมยนั้น.
3. ละความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เป็นผู้เว้นขาดจากความประ
พฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่ละเมิดจารีตในผู้หญิงที่แม่ปกครอง พ่อ
ปกครอง ทั้งพ่อและแม่ปกครอง พี่น้องชายปกครอง พี่น้องหญิงปกครอง หญิงมี
ผัว หญิงที่อยู่ในเขตหวงห้ามโดยที่สุดแม้แต่หญิงที่ชายคล้องพวงมาลัย
ให้ เห็นปานนั้น.
อย่างนี้แล พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติเป็น
ธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย 3 อย่าง.
" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเป็นธรรมและความ
ประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา 4 อย่าง เป็นอย่างไร ?

1. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ละ
การกล่าวเท็จเป็นผู้เว้นขาดจากการกล่าวเท็จไม่ว่าอยู่ในที่ประชุม อยู่ใน
บริษัท อยู่กลางญาติ อยู่กลางพรรคพวกหรืออยู่กลางราชตระกูลก็ตาม เมื่อถูก
นำมาซักเป็นพยานว่า "มานี่ซินายขอให้คุณจงพูดไปตามที่คุณรู้" เขาไม่
รู้ ก็พูดว่า " ผมไม่รู้ " หรือรู้อยู่ ก็พูดว่า " ผมรู้ " ไม่เห็นก็พูดว่า " ผมไม่
เห็น " หรือ เห็นอยู่ก็พูดว่า " ผมเห็น " ทั้งนี้ไม่ว่าเพราะตนเป็นเหตุ เพราะคน
อื่นเป็นเหตุ หรือเพราะอามิสลางสิ่งลางอย่างเป็นเหตุ เป็นผู้ไม่พูดเท็จทั้ง ๆ
ที่รู้อยู่.

2. ละคำพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากคำพูดส่อเสียด คือไม่เป็นผู้ฟัง
จากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น เพื่อทำลายพวกเหล่านี้ หรือไม่เป็นผู้ฟังจาก
ทางโน้นแล้วก็มาบอกทางนี้ เพื่อทำลายพวกโน้น ดังนี้ ก็เป็นอันว่า เป็นผู้
เชื่อมคนที่แตกกันแล้วให้สนิทกัน หรือเป็นผู้ส่งเสริมผู้ที่สนิทกันแล้วให้สนิท
กันยิ่งขึ้น พอใจผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีกับผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ชอบผู้ที่พร้อม
เพรียงกัน เป็นผู้พูดวาจาที่ทำให้สมัครสมานกัน.

3. ละคำพูดหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากคำพูดหยาบ เป็นผู้พูดแต่คำที่ไม่
มีโทษ สบายหู น่ารัก ดื่มด่ำในหัวใจ เป็นภาษาชาวกรุง คนส่วนมากรัก
ใคร่ คนส่วนมากชอบใจเห็นปานนั้น.

4. ละคำสำรากเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากคำสำรากเพ้อเจ้อ พูดเป็น
เวลา พูดคำที่เป็นจริง พูดคำมีประโยชน์ พูดเป็นธรรมพูดเป็นวินัย เป็นผู้พูด
คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิงตามเวลา มีที่สิ้นสุดประกอบด้วยประโยชน์.

อย่างนี้แล พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย จักเป็นความประพฤติเป็น
ธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา 4 อย่าง.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แหละ ความประพฤติเป็นธรรม
และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ 3 อย่าง อย่างไรบ้าง คือ
1. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่ใช่เป็นผู้
มากไปด้วยความเพ่งเล็ง ไม่ใช่เป็นผู้เพ่งเล็งในสิ่งที่เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของคนอื่นๆ นั้นว่า โอหนอ ขอสิ่งที่เป็นของคนอื่นนั้น พึงเป็นของเรา.
2. และก็ไม่ใช่เป็นผู้มีจิตพยาบาทไม่ใช่เป็นผู้มีจิตคิดแต่จะแก้แค้น
ว่า " ขอให้สัตว์พวกนี้จงเป็นผู้ไม่พยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด. "
3. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นผู้มีความเห็นที่คลาด
เคลื่อนว่า " ทานที่ให้แล้วมีผล, การเซ่นสรวงมีผล, การบูชามีผล, ผลคือ
วิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, มารดามีบุญ
คุณ, บิดามีบุญคุณ, พวกสัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดมี, ในโลกมีสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติ
ดีปฏิบัติชอบ, ชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศโลกนี้และโลก
หน้า.
" อย่างนี้ว่ามานี้และพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความ
ประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ 3 อย่าง. "
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติเป็นธรรมและ
ความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. "
[486] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ
ประพฤติเรียบร้อยเป็นปกติ ถ้าพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะ
กายแตกไป. ขอให้เราเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่ากษัตริย์มหาศาล
เถิด, ข้อที่เขาหลังจากตายเพราะกายแตกไป พึงเข้าถึงความเป็นพวก

เดียวกันกับเหล่ากษัตริย์มหาศาลนี้ ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุ
ไร ? เพราะเขาเป็นผู้ปฏิบัติธรรมโดยปกติ ประพฤติสม่ำเสมอเป็นปกติ
อย่างนั้น.
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติ
สม่ำเสมอเป็นปกติ ถ้าพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก
ไปขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหล่าพราหมณ์มหา-
ศาล ฯลฯ เหล่าคฤหบดีมหาศาลเถิด." ข้อที่หลังจากตายเพราะกายแตก
ไป เขาพึงเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพวกพราหมณ์มหา-
ศาล ฯลฯ พวกคฤหบดีมหาศาลนี้ ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุ
ไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติสม่ำเสมอโดยปกติ
อย่างนั้น."
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประ
พฤติสม่ำเสมอเป็นปกติ พึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก
ไป ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นอันเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา...
ชั้นดาวดึงส์...ชั้นยามา... ชั้นดุสิต...ชั้นนิมานรดี...ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี...
ชั้นพรหมกายิกา (พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา) เถิด,
ข้อที่เขาหลังจากตายเพราะกายแตกไป พึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับ
เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ฯลฯ ชั้นพรหมกายิกานี้ ย่อมเป็นไปได้โดย
แท้, นั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติ
สม่ำเสมอเป็นปกติอย่างนั้น."
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประ
พฤติสม่ำเสมอเป็นปกติพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก

ไป ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นอาภา1 (ปริตตาภา
อัปปมาณาภา อาภัสสรา) เถิด, ข้อที่หลังจากตายเพราะกายแตก
ไป เขาพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นอาภานี้ ย่อมเป็นไปได้
โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติ
สม่ำเสมอเป็นปกติอย่างนั้น."
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้มีปกติประพฤติธรรม มีปกติ
ประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก
ไป ขอให้เราเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับพวกเหล่าเทพชั้นปริตตสุภา...ชั้น
อัปปมาณสุภา...ชั้นสุภกิณหกา...ชั้นเวหัปผลา...ชั้นอวิหา...ชั้นอตัปปา...
ชั้นสุทัสสา...ชั้นสุทัสสี...ชั้นอกนิฏฐา...เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ...เข้า
ถึงวิญญานัญจายตนะ....เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ, ข้อที่หลังจาก
ตายเพราะกายแตกไปเข้าพึงเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับพวกเหล่าเทพชั้น
ปริตตสุภา ฯลฯ ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ, นี้ย่อมเป็นไปได้โดย
แท้, นั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเขาเป็นผู้มีปกติประพฤติธรรม มีปกติประพฤติ
เรียบร้อยอย่างนั้น."
พราหมณ์เละคฤหดีทั้งหลาย ถ้าผู้มีปรกติประพฤติธรรม มีปรกติ
ประพฤติสม่ำเสมอพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก
ไป ขอให้เราพึงทำเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่ไม่มีอาสวะ เพราะพวกอาสวะ
สิ้นไป ให้แจ้งด้วยความรู้อย่างยิ่งเองในปัจจุบันนี้แล แล้วเข้าถึงอยู่เถิด,
ข้อที่เขาเป็นผู้ปกติประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอโดยปกติ พึงทำ

1. พวกอาภา มี ปริตตาภา, อัปปมาณาภา, อาภัสสรา แล้วทำไมบาลีถัดไปจึงเรียงระบุว่า
ปริตตาภา, อัปปมาณาภา, อาภัสสรา อีก ผู้แปลจึงตัดบาลีถัดไปตามแบบพรหมกายิกาที่ไม่
ระบุพรหม 3 ชั้นไว้อย่างที่แปลมาแล้ว.

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ เพราะพวกอาสวะสิ้นไปให้แจ้งด้วย
ความรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้แล แล้วเข้าถึงอยู่ นี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาเป็นผู้มีปกติประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอเป็นปกติ
อย่างนั้น."
[487] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้เสร็จแล้ว พวกพราหมณ์
และคฤหบดีชาวบ้านสาละ ได้พากันทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ว่า
" ไพเราะจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญไพเราะจริง ๆ ธรรม
ที่พระโคดมผู้เจริญได้ประกาศแล้วหลายแบบ เหมือนหงายภาชนะที่คว่ำ
เปิดสิ่งที่ปิด บอกทางแก่คนหลง หรือส่องตะเกียงน้ำมันในที่มืดด้วยคิด
ว่า " พวกผู้มีตาดี ๆ จะได้เห็นรูป " ฉะนั้นแลพระโคดมผู้เจริญ พวกข้า-
พระองค์ขอเข้าถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบสาเลยยกสูตร ที่ 1

พรรณนาความในจุลลยมกวรรค

1

อรรถกถาสาเลยยกสูตร



สาเลยยกสูตรมีคำขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."
ในคำเหล่านั้น คำว่า "ในแคว้นโกศล" ความว่า ในแคว้นของชาว
โกศลทั้งหลาย คือพวกชาวจังหวัด หรือ พวกราชกุมารชื่อโกศล. จังหวัดที่
เป็นถิ่นอาศัยของคนเหล่านั้น แม้เพียงจังหวัดเดียว ก็เรียกด้วยเสียงคล่อง
ปากว่า " โกศลทั้งหลาย " ได้. ในจังหวัดของพวกชาวโกศลนั้น. ฝ่ายพวก
คนรุ่นเก่าท่านว่า เพราะแต่ก่อนพระราชาได้ทรงฟังว่า มหาปนาทราช-
กุมาร ทอดพระเนตรท่าตลกต่าง ๆ แม้แต่ยิ้มก็ไม่ทรงทำ จึงตรัสว่า ใครทำ
ให้ลูกฉันหัวเราะได้ ฉันจะเอาเครื่องสำอางทุกอย่างมาแต่งให้คนนั้น.
เมื่อกลุ่มมหาชนทิ้งแม้แต่ไถมาประชุมกัน พวกคนก็พากันแสดงการละเล่น
ต่าง ๆ ตั้งเจ็ดปีกว่า ก็ยังไม่อาจทำให้พระราชกุมารนั้นทรงพระสรวล
ได้. ลำดับนั้น พระอินทร์ทรงส่งตัวตลกเทวดาไป เทพองค์นั้นแสดงท่าตลก
แบบทิพย์จนทำให้ทรงพระสรวลได้. ลำดับนั้น คนเหล่านั้นก็พากันบ่าย
หน้าหลีกไปยังถิ่นของตนๆ เมื่อพบเพื่อนฝูงที่สวนทางมา พวกนั้นก็ทักทาย
ปราศรัยกันว่า " ดีไหม ?," ฉะนั้น เพราะอาศัยคำว่า " ดีๆ " นั้น ประเทศนั้น
จึงเรียกว่า " โกศล "
คำว่า " เสด็จเที่ยวจาริก " คือ กำลังเสด็จเที่ยวจาริกแบบไม่
รีบร้อน. คำว่า " กับหมู่ภิกษุจำนวนมาก " คือ กับหมู่ภิกษุจำนวนมากที่
ไม่ได้กำหนดชัดลงไปอย่างนี้ว่า ร้อย พัน หรือแสน. คำว่า " หมู่บ้านของ
พราหมณ์ "
ได้แก่ หมู่บ้านชุมชนพวกพราหมณ์ เรียกว่า หมู่บ้านของ
พราหมณ์. แม้หมู่บ้านโภคของพวกพราหมณ์ก็เป็นหมู่บ้านชุมชนในที่

1. บาลีใช้ จูฬยมกวรรค